ให้ประสบการณ์
ประสบการณ์ใหม่จากสมาร์ทโฟนเครื่องแรก
กลายเป็นประสบการณ์ดี ๆ
วิธีการทำให้ สมาร์ทโฟนเครื่องแรก ของบุตรหลานกลายเป็นโอกาสในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกัน
เด็ก ๆ ต่างถวิลหาอิสระในการใช้สมาร์ทโฟนเครื่องแรก แต่พ่อแม่ก็ทราบดีว่าอิสระใหม่ ๆ นั้นก็นำมาซึ่งอันตรายใหม่ ๆ และเมื่อพูดถึงสมาร์ทโฟนด้วยแล้ว ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นจากความอยากมีอิสระของเด็ก ๆ กับความต้องการของพ่อแม่ในการปกป้องลูกของตนเองนั้นอาจนำไปสู่การมีลับลมคมในและการไม่เชื่อใจกันได้ แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไรดี ลองสร้างรูปแบบการสื่อสารที่ดีสำหรับการใช้สมาร์ทโฟนตั้งแต่แรกเริ่ม ต่อไปนี้คือเคล็ดลับบางอย่างที่จะช่วยเสริมประสบการณ์สมาร์ทโฟนเครื่องแรกของบุตรหลานพร้อมช่วยให้พวกเขาใช้งานได้อย่างมีความรับผิดชอบ
Samsung Galaxy เครื่องแรกของพวกเขา
เป็นตัวเลือกที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
เลิกคิดที่จะควบคุม
"ต่อไปนี้คือสถานการณ์ที่พบได้บ่อย: พ่อแม่เอาสมาร์ทโฟนให้ลูกใช้ก็จริง แต่ใช้มันเป็นเครื่องต่อรองในทุกครั้งที่ต้องการทำโทษและควบคุม วิธีการนี้สามารถก่อให้เกิดพฤติกรรมดื้อรั้นและปิดบังได้ ซึ่งจะไม่ช่วยให้เด็ก ๆ ปลอดภัยในการใช้งานโลกออนไลน์ นอกจากนี้ มันยังก่อให้เกิดผลลัพธ์ตรงกันข้ามของการเลี้ยงดูบุตรหลาน ที่ซึ่งควรจะเป็นการสอนให้เด็ก ๆ ได้รู้ถึงวิธีการเอาตัวรอดและพึ่งพาตัวเองได้ในยามที่คุณไม่ได้คอยอยู่ดูแลมากกว่า
ในทางกลับกัน ทำไมไม่ลองมองสมาร์ทโฟนนี้ในฐานะเครื่องมือที่คุณจำเป็นต้องสอนลูกเพื่อใช้งาน ไม่ใช่บางสิ่งบางอย่างที่ใช้เพื่อลงโทษดูล่ะ ให้ตกลงกันดูในเรื่องของการเฝ้าดูการใช้งานเป็นเวลาไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือนดู ที่ซึ่งคุณจะติดตามการใช้สมาร์ทโฟนของพวกเขาเท่าที่จำเป็นเพื่อสอนให้พวกเขาได้รู้ถึงวิธีการใช้อย่างมีความรับผิดชอบ ตัวอย่างเช่น คุณอาจทำข้อตกลงกับพวกเขาว่าจะขอดูประวัติการท่องเว็บของพวกเขาหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ในช่วงไม่กี่เดือนแรก เพื่อให้คุณสามารถลองคุยได้ว่าเว็บไซต์ไหนบ้างที่เป็นอันตรายต่อพวกเขา
สิ่งสำคัญที่สุดก็คือคุณกับลูกของคุณต้องพูดคุยกันแต่เนิ่น ๆ ในช่วงที่คุณตั้งเป้าหมายร่วมกัน และแสดงให้เห็นว่าคุณเคารพอิสรภาพของพวกเขา นั่นคือก้าวแรกแห่งการสร้างความเชื่อมั่นร่วมกันในการใช้สมาร์ทโฟน"
สร้างสัญญาการเป็นพลเมืองของโลกดิจิทัลไปด้วยกัน
ทุกครอบครัวควรทำสัญญากันเมื่อให้สมาร์ทโฟนเครื่องแรกแก่ลูก แต่สัญญาที่ว่านั้นไม่ควรเป็นการขู่หรือเป็นเรื่องซับซ้อน ในทางกลับกัน ให้ลองคิดดูว่าสัญญาของครอบครัวนั้นคือความหวังที่จะทำให้การใช้สมาร์ทโฟนเครื่องแรกของลูกคุณกลายเป็นเรื่องดีได้
ให้เริ่มต้นถามลูกของคุณว่าการเป็นพลเมืองของโลกดิจิทัลนั้นมีความหมายอย่างไรต่อพวกเขา จากนั้นก็ให้แบ่งปัน ความหมายของคุณเอง คุณยังสามารถถามลูกได้ว่าพวกเขาวางแผนที่จะใช้สมาร์ทโฟนอย่างไร จากนั้นก็บอกพวกเขาว่าคุณตื่นเต้นกับอะไรบ้างในเหตุการณ์สำคัญครั้งนี้ (“แม่อดใจไม่ไหวแล้วที่จะได้ส่งข้อความขำ ๆ ให้ลูก!”) จากนั้นก็ให้เล่าความห่วงใยของแต่ละคนให้ฟังกัน: ตัวอย่างเช่น ลูกของคุณอาจกังวลว่าคุณอาจจะแอบดูข้อความของพวกเขา ในขณะที่คุณอาจสงสัยว่าลูกอาจจะไม่ใส่ใจสายโทรเข้าของคุณในยามฉุกเฉิน จากนั้นให้ลองพูดคุยกันเพื่อหาทางออกให้กับข้อกังวลเหล่านั้น
แต่ในท้ายที่สุดแล้ว สัญญาที่คุณตกลงทำกันนั้นก็เป็นเพียงสิ่งที่สะท้อนถึงบทสนทนานี้เท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรจดจำก็คือผลที่จะตามมาจากสัญญามากกว่า ซึ่งควรออกแบบสัญญาให้มีรางวัลตอบแทนด้วย เพราะเทคนิคการเลี้ยงดูบุตรหลานที่มีประสิทธิภาพที่สุดนั้นจะก่อให้เกิดพฤติกรรมในเชิงบวก ลองตั้งรางวัลไอศกรีมฟรีสำหรับการปิดโทรศัพท์ตอนสามทุ่มในทุก ๆ คืนกันหน่อยดีไหม
สอนบุตรหลานของคุณให้บล็อกการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์เสียแต่เนิ่น ๆ
ประมาณการกันว่า 21% ของเด็กทุกคนที่มีอายุระหว่าง 10 ถึง 18 ปีนั้นเคยประสบกับการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง โชคไม่ค่อยดีที่อาการของการถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์นี้มีลักษณะคล้ายกับพฤติกรรมของวัยรุ่นทั่ว ๆ ไปมาก: ปลีกตัวและปิดบัง, อยากอยู่บ้านเนื่องจากเบื่อโรงเรียน และการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพแบบทันทีอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นการยากมากที่จะพูดคุยเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ เมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น
แนวทางแก้ไขก็คือเริ่มต้นพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเสียแต่เนิ่น ๆ และสอนให้ลูกของคุณอย่าไปสนใจกับข้อความกลั่นแกล้งเหล่านั้น อธิบายให้ลูกของคุณได้ทราบว่าพวกเขาสามารถพูดคุยเรื่องการถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ให้คุณฟังได้ สัญญาว่าคุณจะไม่ดำเนินการใด ๆ (เช่น การไปเผชิญหน้ากับพ่อแม่ของเด็กที่มากลั่นแกล้งลูกของคุณทางไซเบอร์) โดยไม่ได้รับอนุญาตจากลูก ๆ และสอนให้พวกเขาได้รู้ว่า ในบางครั้งแล้ว วิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ก็คือ หากใครทำให้พวกเขารู้สึกไม่ค่อยดีทางออนไลน์ ก็ให้บล็อกคนพวกนั้นไปเสียเลย
อย่าเสแสร้ง
เมื่อมีโอกาส ให้ทำตัวคุณเองให้เป็นแบบอย่างในการใช้สมาร์ทโฟนแบบที่คุณต้องการจะสอน ตัวอย่างเช่น หากคุณอยากให้ลูกของคุณเลิกเล่นโทรศัพท์บ้างขณะที่ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว ให้คุณวางโทรศัพท์ของคุณไว้ในอีกห้องหนึ่ง หากคุณไม่ต้องการให้ลูก ๆ ไถเลื่อนดูฟีดขณะรับประทานอาหารแล้วล่ะก็ อย่าให้ลูกได้เห็นสมาร์ทโฟนของคุณเองในระหว่างที่รับประทานอาหารเช่นกัน
การกระทำนี้ยังสามารถนำไปต่อยอดใช้ได้กับพฤติกรรมทางออนไลน์ของคุณและวิธีที่คุณตั้งขีดจำกัดให้ตัวคุณเองได้ด้วย เรียกลูก ๆ ของคุณมาและแสดงให้พวกเขาได้เห็นถึงตัวอย่างของการมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงบวกที่คุณทำในโซเชียลมีเดีย เพื่อให้พวกเขาได้เห็นพฤติกรรมที่พวกเขาสามารถเลียนแบบได้ เช่นเดียวกัน หากคุณคาดหวังให้พวกเขาใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงต่อวันไปกับโซเชียลมีเดียแล้วล่ะก็ คุณสามารถทำตัวเองให้เป็นตัวอย่างได้ด้วยการตั้งขีดจำกัดการใช้งานใน การตั้งค่า Digital Wellbeing ของสมาร์ทโฟน Samsung Galaxy ของคุณ
การเริ่มต้นครั้งใหม่เพื่อคุณคนใหม่
Galaxy รุ่นใหม่
เริ่มต้นเทอมใหม่ด้วยโปรโมชั่นสำหรับนักเรียน นักศึกษา
สั่งซื้ออุปกรณ์ Galaxy ได้ในราคาพิเศษ
- *UX/UI จริงอาจแตกต่างออกไป
- **ภาพหน้าจอเป็นการจำลองเพื่อจุดประสงค์ในการนำเสนอเท่านั้น